GEOSPATIAL Surveying Services:
Air-Land-Sea Surveys
บนเส้นทางสายอาชีพงานสำรวจฯที่ยาวนานมาจนถึง ณ ปัจจุบัน ที่ผู้เขียนนอกจากจะเป็นผู้ทำการสำรวจฯด้วยตนเองแล้ว ยังมีอีกหน้าที่หนึ่งคือ การทำหน้าที่เป็น Survey Consultor หรือผู้มีหน้าที่ในการให้คำปรึกษา ตั้งแต่วิธีการ หรือเทคนิคที่ใช้การสำรวจฯในหน้างานภาคสนาม การเก็บข้อมูล การประมวลผล ตลอดจนการตรวจสอบวิเคราะห์ รายงานการสำรวจฯต่างๆ ซึ่งงานในลักษณะดังกล่าวได้ทำให้ผู้ว่าจ้างฯ จากหลายบริษัท หลายองค์กร "เกิดความเชื่อมั่น" ทางด้านความถูกต้อง แม่นยำของข้อมูลสำรวจฯ และได้นำข้อมูลสำรวจฯนั้นไปใช้ประโยชน์จนเกิดผลสัมฤทธิ์ ต่อโครงการฯต่างๆมาแล้วมากมาย ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
ผู้เขียนจึงขออนุญาติ นำเสนอบริการงานสำรวจฯที่มีคุณภาพ มีความถูกต้องแม่นยำ ของข้อมูลสำรวจฯอยู่ในเกณฑ์สูง (มิลลิเมตร) โดยการใช้เทคโนโลยีอุปกรณ์สำรวจรังวัด ที่มีความทันสมัยในยุคปัจจุบัน ทั้งอุปกรณ์การสำรวจฯทางอุทกศาสตร์ อุปกรณ์การสำรวจฯจากทางอากาศ และอุปกรณ์การสำรวจฯทางภาคพื้นดิน
Land Survey: Static/RTK-GPS (GNSS), Terrestrial Scanner, Total Station
Hydrographic Survey: R2 Sonic Multi Beam Echo Sounder, Teledyne ADCP
Aerial Survey: UAV/Drone Aerial Mapping, Satellite Mapping
บริการงานสำรวจรังวัด (ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ)
QUALITY SURVEYING SERVICES
Land Survey:
-
Topographic Survey งานสำรวจรังวัดสภาพภูมิประเทศ เพื่อจัดทำแผนที่แสดงเส้นชั้นความสูง (Contour Map) รวมไปถึงการสำรวจรังวัดสภาพทั่วไปทางกายภาพของพื้นที่ (Details) ของโครงการฯต่างๆ ทั้งประเภท As-Built และ Non-As Built
-
Dimensional Control Survey งานสำรวจรังวัด เพื่อการกำหนดตำแหน่ง (Setting Out), ตรวจสอบขนาด (Dimensional Checks) ของสิ่งก่อสร้างทางวิศวกรรมต่างๆ อาทิ งานก่อสร้างโมดูล, ท่อส่งก๊าซฯ, Platform ฯลฯ ที่ต้องการความละเอียดสูง
-
Deformation Survey งานสำรวจรังวัด เพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนย้ายทางตำแหน่ง และทางระดับของวัตถุ หรือสิ่งปลูกสร้างใดๆ อาทิ การสำรวจรังวัดการเคลื่อนตัวของตัวเขื่อนฯ อาคาร ตึกสูง เป็นต้น
-
High-Precision Control Network Survey งานสำรวจรังวัด และจัดทำโครงข่ายหมุดหลักฐานความละเอียดสูง (3D) ทั้งทางราบ และทางดิ่ง เพื่อใช้สำหรับเป็นหมุดฯอ้างอิง ในงานงานสำรวจรังวัดอื่นๆต่อไป (หมุดฯหล่อซีเมนต์หัวทองเหลือง, Reflective Sheet และ Permanent Control Prism Target)
-
GPS Survey งานสำรวจรังวัดดาวเทียม ด้วยเครื่องมือสำรวจรังวัดดาวเทียม ที่ทำงานในระบบ GNSS ความละเอียดสูง ซึ่งรับสัญญาณดาวเทียมจากระบบดาวเทียม GPS, Glonass, Compass (Beidou), Galileo และ SBAS โดยทำงานทั้งในแบบ Static, RTK และ Mobile RTK-GPS
-
Volumetric Survey งานสำรวจรังวัด ตรวจสอบกองปริมาตรของวัสดุต่างๆ (Cut/Fill) อาทิ กองหิน, กองทราย, ดินขุด-ดินถม และ กองสต๊อคต่าง ทั้งประเภท Stockpile และบ่อขุด (Pond), Opened Pit ฯลฯ
-
Mobile Terrestrial Laser Scanner Survey งานสำรวจรังวัด เพื่อจำลองรายละเอียดของวัตถุ และสิ่งก่อสร้างต่างๆ มาเป็นข้อมูลเชิงเวคเตอร์ 3D ความละเอียดสูง (High Density Point Cloud) ด้วยอุปกรณ์กวาดภาพ (สแกน) ด้วยแสงเลเซอร์ ทั้งประเภท Static และ Mobile Terrestrial Scanner
-
Mining Survey งานสำรวจรังวัด ในสายงานเหมืองแร่ อาทิ การสำรวจฯกองปริมาตรแร่, การสำรวจฯกำหนดตำแหน่ง/ระดับหลุมเจาะ, งานสำรวจฯอุโมงค์, Haul Road ฯลฯ
-
General Land Survey งานสำรวจรังวัดทั่วไป ในสายงานก่อสร้างฯ, งานสำรวจฯเขื่อน, งานสำรวจฯสายไฟฟ้าแรงสูง (Transmission Line), งานสำรวจถนน ฯลฯ
-
PhoDAR 3D Modelling งานสำรวจรังวัด และจัดทำแบบจำลองของวัตถุ งานปฏิมากรรม สิ่งปลูกสร้างทางสถาปัติยกรรมต่างๆ โดยอ้างอิงจากขนาด/สัดส่วน ทางเลขาคณิตจากต้นแบบจริง มาเป็นข้อมูลเชิงเว็คเตอร์/Point Cloud ในระบบ 3D ผ่านกระบวนการถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายภาพที่มีความละเอียดสูง และการกำหนดตำแหน่งควบคุมภาพถ่าย 3D บนตัววัตถุ หรือ สิ่งปลูกสร้างต้นแบบ ด้วยกล้อง Total Station
Sea/River Survey:
-
Bathymetric 3D Survey งานสำรวจรังวัด สภาพทางกายภาพ ภูมิสัญฐาณใต้ท้องน้ำ แบบ 3 มิติ ของแม่น้ำ (Riverbed Surface) และทะเล (Seafloor) ด้วยเครื่องเครื่องมือหยั่งความลึกชนิดหลายความถี่ (Multi Beam Echo Sounder) หรือเครื่องสแกน สภาพพื้นผิวใต้ท้องน้ำ
-
Hydrographic Survey งานสำรวจรังวัดอัตราเร็ว, ทิศทาง และมวลปริมาตรของกระแสน้ำ ในรูปแบบการสำรวจฯภาคตัดขวาง (River Cross Section) ด้วยอุปกรณ์สำรวจฯ ADCP (Acoustic Doppler Current Profiler), การสำรวจฯระดับน้ำขึ้น-น้ำลง (Tidal Gauge) เป็นต้น
-
Hydrological Survey งานสำรวจ และตรวจสอบวิเคราะห์น้ำ อาทิ การเก็บตัวอย่างสภาพตะกอนใต้ท้องน้ำ (Sampling Sediment), ลักษณะทางเคมีของน้ำ, การเคลื่อนตัวของมวลน้ำ และองค์ประกอบทางกายภาพอื่นๆ
Aerial Survey:
-
Satellite/Aerial Mapping งานสำรวจฯและจัดทำแผนที่ฯ จากภาพถ่ายทางอากาศ ทั้งภาพถ่ายจากอากาศยาน (บินสำรวจ) และภาพถ่ายจากดาวเทียม อาทิ IKONOS, GeoEye, WorldView และ QuickBird ในความละเอียดของภาพถ่าย (Resolution) ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
-
UAV/Drone Survey งานบินสำรวจรังวัดจากอากาศยานไร้คนขับ โดยการถ่ายภาพจากทางอากาศ เพื่อนำภาพถ่ายฯมาประมวลผลด้วยวิธี Photogrammetry เพื่อจัดทำแผนที่เส้นชั้นความสูง, ภาพ Orthophoto, การคำนวณปริมาตร (Cut/Fill) ของพื้นผิว และการบินสำรวจฯติดตามสภาวะการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่จากการใช้ประโยชน์ที่ดิน จากการเกษตรกรรม การป่าไม้ ฯลฯ
Surveying Service Article: RTK-GPS (GNSS) Survey
งานสำรวจรังวัดด้วยดาวเทียม (ระบบ GNSS)
เทคโนโลยีการสำรวจรังวัดโดยการการใช้ดาวเทียม เพื่อกำหนดตำแหน่งทางราบ และค่าระดับ ในทางดิ่งบนพื้นผิวโลก ได้ถูกนำมาใช้ในงานสำรวจฯ แทนการใช้การส่องกล้องสำรวจฯ อาทิ กล้องโททอล สเตชั่น ซึ่งมีข้อจำกัดที่สำคัญ คือเรื่อง 'ขนาดของพื้นที่สำรวจฯ'
พื้นที่สำรวจฯที่มีขนาดใหญ่ การใช้กล้องสำรวจฯ จะต้องทำการสำรวจรังวัดวงรอบ เพื่อกำหนดหมุดฯควบคุมทางราบ/ทางดิ่ง ก่อนที่จะใช้กล้องฯทำการสำรวจรังวัดรายละเอียดต่างๆ ต่อไป...โดยพื้นสำรวจฯที่ๆมีขนาดใหญ่มาก จำนวนหมุดควบคุมฯ ก็จะยิ่งมาก หรือแม้แต่การซอยหมุดควบคุมฯ ออกเป็นวงรอบย่อยๆ ต่อ/ซ้อนกันหลายๆวง ก็ตาม และเมื่อ 'จำนวนหมุดฯควบคุม' ถูกขยายออกไปโดยการใช้กล้องสำรวจฯ สิ่งที่ตามมาหลังจากนั้น คือ ความคลาดเคลื่อน (Error) ที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ส่วนจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับระยะทางในการวัด และความคลาดเคลื่อน (Fixed error) ของกล้องสำรวจฯ ที่ใช้ และปัจจัยอื่นๆ อาทิ สภาพอากาศ และตัวผู้ทำการสำรวจฯเอง
ตัวผู้เขียน (ในยุคอดีต) ตระหนักถึงกาลนั้นเป็นอย่างดี ด้วยตนเองนั้นเคยแบกกล้องฯ ธีโอโดไลท์/โททอล สเตชั่น เข้าไปทำการสำรวจฯสภาพภูมิประเทศในพื้นที่ป่าเขาขนาดใหญ่ เพื่อจัดทำแผนที่แสดงเส้นชั้นความสูง...จำนวนหมุดฯวงรอบ ที่ได้ถูกขยายออกไปในจำนวนหลายวงรอบ อีกทั้งงาน 'ตัด/ถากถาง' ต้นไม้ใหญ่น้อย เพื่อใช้เป็น 'ไลน์กล้อง' (เพื่อให้กล้องส่องเห็นเป้าหน้า) ถือเป็นงานที่หนักหน่วง และใช้เวลาในการทำการสำรวจฯยาวนาน
การมาถึงของเทคโนโลยีการสำรวจรังวัดด้วยดาวเทียม (ระบบ GNSS) ความละเอียดสูง ได้เข้ามา 'ตอบโจทย์' ข้างต้นให้กับอาชีพงานสำรวจฯของผู้เขียน ด้วยสามารถขจัดปัญหาในเรื่องจำนวนหมุดควบคุมฯ ที่ต้องการใช้เพียง 1 หมุดฯเท่านั้น (อาจจะมีหมุดฯสำรอง 1-2 หมุดฯเพื่อกันการสูญหาย หรือถูกทำลาย) เพื่อใช้เป็นสถานีฐาน (GPS Base Station) เพื่อควบคุมทางราบ/ทางดิ่ง ให้กับตัว Rover อื่นๆ
ด้วยความที่ระบบการสำรวจรังวัดด้วยดาวเทียมดังกล่าว ใช้การรับ-ส่งสัญญาณแบบคลื่นวิทยุ จากสถานีฐาน พร้อมๆกับการรับสัญญาณจากดาวเทียม จึงทำให้สามารถขยายพื้นที่ๆจะทำการสำรวจฯออกไปได้ถึง 10 กม. ห่างจากสถานีฐาน เมื่อทำการสำรวจฯในโหมด RTK และ >100+ กม. เมื่อทำการสำรวจฯในโหมด Static...ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้กล้องฯส่อง ที่เพียงแค่ เนินสูงๆต่ำๆ กล้องฯส่องไม่เห็นตัวเป้า หรือมีสิ่งกีดขวาง/ต้นไม้ บดบังอยู่ในไลน์กล้องฯ...ก็จอดไม่ต้องแจว ซึ่งจะต้องทำการขยายหมุดควบคุมฯ กันออกไปอีก
Surveying Service Article: PhoDAR 3D Modeling (แบบจำลองรูปทรงวัตถุ หรือสิ่งปลูกสร้าง แบบ 3 มิติ เสมือนจริง จากภาพถ่ายความละเอียดสูง)
การสร้างแบบจำลองรูปทรงวัตถุ หรือสิ่งปลูกสร้าง เสมือนจริง จากภาพถ่ายความละเอียดสูง (Photo Modeler)
เมื่อหลายปีก่อน ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมงานโครงการสำรวจฯปูชนียสถานสำคัญแห่งหนึ่ง ที่ประเทศพม่า (เมียนมา) โดยวัตถุประสงค์ของการสำรวจฯครั้งนั้น คือการสร้างแบบจำลองรูปทรง 3 มิติ โดยให้คงไว้ซึ่งลักษณะทางขนาด และสัดส่วนทางเลขาคณิต รวมถึงรายละเอียดพื้นผิวของวัตถุ ให้เหมือนกับของจริงหรือต้นฉบับทุกประการ ด้วยเหตุว่า ในอนาคตข้างหน้า ถ้าหากวัตถุ หรือปูชนียสถานเหล่านี้ เกิดผุพัง สลายลงตามกาลเวลา หรือเกิดจากอุบัติภัยอย่างหนึ่ง อย่างใด ซึ่งอย่างน้อยที่สุด ก็ยังมีข้อมูลสำรวจฯที่ได้ 'Backup' เอาไว้แล้ว เป็นแนวทางในการซ่อม/สร้าง หรือบูรณะปฏิสังขร กู้คืนสภาพกลับมาอยู่ในรูปทรงเช่นเดิมอีกครั้งหนึ่ง โดยยังคงลักษณะทางเลขาคณิตเหมือนของเดิมทุกประการ
ในยุคนั้น อุปกรณ์สำรวจฯที่ถูกนำมาใช้คือ Static Terrestrial Scanner หรือเครื่องกวาดสแกนพื้นผิววัตถุ ด้วยแสงเลเซอร์ความละะเอียดสูง (High Density Point Cloud) ยี่ห้อ Faro ซึ่งมีราคาค่าตัว/ค่างวดที่ค่อนข้างจะสูงลิบลิ่ว ไม่ว่าจะเป็นการซื้อมาใช้งาน หรือทำใบเสนอราคาการสำรวจด้วยอุปกรณ์ดังกล่าว ให้กับลูกค้าในยุคนั้น
เมื่อผู้เขียนกลับมา ก็ยังคงให้ความสนใจในตัวเทคโนโลยีการกวาดสแกนพื้นผิววัตถุ ด้วยแสงเลเซอร์ดังกล่าว มาอย่างต่อเนื่อง จนต่อมาได้มีโอกาสได้ใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะการทำงานที่คล้ายกันนี้อีกครั้ง นั่นคือ Mobile Terrestrial Scanner ทำการสำรวจฯโครงสร้างของตึกสูงกว่า 30 ชั้น ในกรุงเทพฯ ซึ่งอุปกรณ์สำรวจฯดังกล่าว มีราคาค่าตัว/ค่างวด 'ถูกกว่า' แบบสแกน Static ประมาณ 1 ใน 3 และยังใช้เวลาในการสำรวจฯที่สั้นกว่า (จะกล่าวถึงอุปกรณ์ชนิดนี้ ในโอกาสถัดไป)
จากองค์ความรู้ทางด้านงาน Scanning ข้างต้น และองค์ความรู้ทางสายงาน Mapping จากภาพถ่ายทางอากาศ ด้วยวิธี Photogrammetry โดยการใช้จุดควบคุมภาพถ่าย (x,y,z) ผู้เขียนจึงนำกระบวนการดังกล่าว มาสร้างแบบจำลอง 3 มิติ (High Density Point Cloud) เสมือนจริง ตามสัดส่วนทางเลขาคณิต เหมือนกับวัตถุต้นแบบ ทุกประการ
กระบวนการถ่ายภาพความละเอียดสูง (ไม่น้อยกว่า 16 ล้านพิกเซล) และการสำรวจรังวัดจุดควบคุมภาพถ่าย โดยใช้กล้องโททอล สเตชัน เพื่อนำมาสร้างแบบจำลอง 3 มิติ ดังกล่าว เหมาะสำหรับงานสร้างแบบจำลองของวัตถุต่างๆ ที่มีขนาดไม่ใหญ่เกินไปนัก อาทิ วัตถุโบราณ รูปปั้น งานแกะสลัก หรืองานปฏิมากรรมต่างๆ ตลอดจนแหล่งอารยธรรมโบราณต่างๆ ที่ถูกขุดค้นพบ อาทิ แหล่งอารยธรรมเครื่องปั้นดินเผา, แหล่งโครงกระดูกไดโนเสาร์, แหล่งโครงกระดูกของมนุษย์โบราณ ฯลฯ
การบินสำรวจฯ และจัดทำแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศ
องค์ความรู้ในเรื่องกระบวนการบินสำรวจฯ และสร้างแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศนั้น ถือเป็นศาสตร์งานสำรวจฯที่ค่อนข้างจะมีประวัติศาสตร์ 'เก่าแก่' แขนงหนึ่ง ซึ่งต้องขออนุญาติกล่าวท้าวความกลับไปในช่วงสมัยสงครามโลก ระหว่างจักรวรรดินาซี กับฝ่ายสัมพันธมิตร โดยมีปูมบันทึกในช่วงระหว่างสงครามครั้งนั้นว่า ฝ่ายจักวรรดินาซีได้ใช้กล้องถ่ายภาพ 'จิ๋ว' ผูกติดกับส่วนอกของนกพิราบ และส่งให้นกพิราบบินเข้าไปในเขตของฝ่ายสัมพันธมิตร และบินกลับมายังฐาน ด้วยกลไกการถ่ายภาพแบบตั้งเวลา (Timelapse) ตามที่กำหนดนี้ ทำให้ทางฝ่ายจักวรรดินาซี สามารถนำภาพถ่ายจากทางอากาศที่ได้จากกล้องติดอยู่ที่ส่วนอกของนกพิราบ นำมาสร้างเป็นแผนที่ เพื่อใช้ประโยชน์ หรือชิงความได้เปรียบในช่วงสงครามได้ ซึ่งข้อดีของการใช้นกพิราบเป็นพาหนะ คือการไม่ถูกตรวจจับจากฝ่ายสัมพันธมิตร
Photo Credited: https://petapixel.com
โดยอาศัยหลักการเดียวกันนี้ ที่ในยุคต่อๆมา กระบวนการบินสำรวจฯ และจัดสร้างแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศดังกล่าว ได้ถูกพัฒนามาโดยลำดับ ไล่เรียงมาตั้งแต่การนำระบบกล้องถ่ายรูปไปติดตั้ง ในบอลลูน เรือเหาะ เครื่องบิน หรืออากาศยานต่างๆ จนถึงดาวเทียมค้างฟ้าในยุคปัจจุบัน โดยทั้งนี้ กระบวนการ/หลักวิธีการจัดสร้างแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศโดยวิธี Photogrammetry ที่เกิดขึ้นเมื่อกว่า 100 ปีก่อน เป็นเช่นไร ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงสืบสานหลักการนั้นอยู่ โดยไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก
และโดยอาศัยหลักการเดียวกันนี้ คือการถ่ายภาพ 'จากทางอากาศ'...ผู้เขียนจึงเลือกใช้ Drone (ที่ไม่ใช่ของเด็กเล่น) มาเป็นพาหนะนำกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูง บินขึ้นไปถ่ายภาพด้วยระบบ Timelapse ที่ถูกกำหนดให้มีอัตราส่วน Overlap/Sidelap ระหว่างภาพต่อภาพ ไม่น้อยกว่า 60% ในเส้นแนวบิน (Flight Run) เพื่อที่จะได้นำภาพถ่ายที่ถูกซ้อนเกยกันเหล่านั้น มาเข้าสู่กระบวนการ Photogrammetry และกำหนดให้มีจุดควบคุมภาคพื้นดิน (Ground Control Point) ปรากฎอยู่บนภาพถ่าย ซึ่งถูกสำรวจรังวัดด้วย RTK-GPS (GNSS)/Total Station โดยจุดควบคุมภาพถ่ายภาคพื้นดิน (GCP) นี้ จะทำหน้าที่เป็นจุดควบคุมการดัดแก้ ทิศทาง/ตำแหน่งของภาพทางราบ และคำนวณปรับแก้ค่าระดับทางดิ่ง ของภาพถ่าย เพื่อจัดสร้างแผนที่แสดงเส้นชั้นความสูง ต่อไป
Surveying Service Article: Drone/UAV Arial Mapping (การบินสำรวจฯ และจัดทำแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศ)
Geospatial JS @ 2020 All rights reserved. Powered by AAM (Thailand) Co., Ltd.